
ITA งานคุณธรรมเเละความโปร่งในหน่วยงานของรัฐ คู่มือการให้บริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเวียงแหง
1.งานที่ให้บริการ : คลินิกแพทย์แผนไทย
2.หน่วยงานที่รับผิดชอบ : งานแพทย์แผนไทย กลุ่มงานเภสัชกรรม
3.ขอบเขตการให้บริการ:
คลินิกแพทย์แผนไทยให้บริการ
ขั้นตอนการรับบริการงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเวียงแหง
4.2 วิธีการในการขอรับบริการ ผู้ที่ไม่เคยมารับบริการ สามารถขอใช้บริการได้ 2 ช่องทางคือ
1.ยื่นบัตรประชาชน/บัตร 30 บาท/บัตรประกันสังคม/บัตรสิทธิจ่ายตรงข้าราชการที่ห้องบัตร พร้อมกับแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการมารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย และ เจ้าหน้าที่ปริ้น OPD CARD (เวชระเบียน) จากนั้นให้นำ OPD CARD (เวชระเบียน) มาที่ห้องแพทย์แผนไทยและทำตามขั้นตอนของหน่วยงาน เสร็จแล้วไป ห้องการเงิน ห้องยา หรือกลับบ้าน แผนผังการขอเข้ารับบริการ(ช่องทางที่๑)
2.ยื่น บัตรประชาชน/บัตร30 บาท/บัตรประกัน สังคม/บัตรสิทธิจ่ายตรงข้าราชการที่ห้องบัตรรอคัดกรองที่OPD และเข้าพบแพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อแพทย์แผนปัจจุบันตรวจ วินิจฉัยโรคและสั่ง การรักษาแล้วผู้รับบริการมายื่นที่ห้องแพทย์แผนไทยและทำ ตามขั้นตอนของคลีนิกแพทย์แผนไทย เสร็จแล้วไปห้องการเงิน ห้องยา หรือกลับบ้าน แผนผังการขอเข้ารับบริการ(ช่องทางที่2)
ผู้ที่เคยมารับบริการ (ผู้ป่วยเก่า/ผู้ป่วยนัด) 1.ยื่นบัตร/ใบนัดที่ห้องบัตรแล้วแจ้งว่าต้องการรับบริการแพทย์แผนไทย/นัดรักษาต่อเนื่องแผนไทย เจ้าหน้าที่ปริ้น OPD CARD (เวชระเบียน) จากนั้นให้นำ OPD CARD (เวชระเบียน) มาที่ห้องแพทย์แผนไทยและทำตามขั้นตอนของแพทย์แผนไทย เสร็จแล้วไปห้องการเงิน ห้องยา หรือกลับบ้าน แผนผังการขอเข้ารับบริการ (ผู้ป่วยเก่า/ผู้ป่วยนัด)
4.3 เงื่อนไขในการให้บริการ 1.หน่วยงานแพทย์แผนไทยเน้น ให้บริการด้านการนวดรักษา (เฉพาะจุด) การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต ผู้สูงอายที่มีปัญหาปวดตามข้อต่อ 2.ผู้ที่มีสิทธิบัตรจ่ายตรงข้าราชการ บัตรประกันสังคม(สำรองจ่ายและเบิกคืนได้ที่ประกันสังคม) ส่วนบัตรทอง 30 บาทต้องเสียค่าธรรมเนียม 30 บาท 3.ผู้ที่ไม่มีบัตรจ่ายตรงข้าราชการ บัตรทอง 30 บาทต่างจังหวัด บัตรประกันสังคมต่างจังหวัด ต่างด้าวชำระเงินเอง ข้าราชการสามารถนำใบเสร็จรับเงินและหนังสือ รับรองการเบิกจ่ายไปเบิกกับต้นสังกัดได้ส่วนสิทธิบัตรทอง 30 บาท บัตรประกัน สังคม ต่างด้าวชำระเองไม่สามารถเบิกคืนได้ 4.การจ่ายยาสมุนไพร สามารถเบิกใช้ยาสมุนไพรได้30รายการคือ 1.ยาเถาวัลย์เปรียง 2.ยาสหัสธารา 3.ยาขี้ผึ้งไพล 4.ยาน้ำมันไพล 5.ยาลูกประคบ 6.ยาอบสมุนไพร 7.ยาขมิ้นชัน 8.ยาธาตุบรรจบ 9.ยาขิง (ชาชง) 10.ยาเพชรสังฆาต 11.ยาธาตุเปลือกอบเชย 12.ยาตรีผลา 13.มะขามแขก 14.ยาห้าราก 15.ยาเขียวหอม 16.ยาจันทน์ลีลา 17.ยาตรีผลา (ชาชง) 18.ยาอมมะแว้ง 19.ยาฟ้าทะลายโจร 20.ยาหอมเทพจิตร 21.ยาหอมนวโกฐ 22.ยาประสะไพล 23.ยาว่านชักมดลูก 24.ยาบำรุงน้ำนม 25.ยาหม่องเสลดพังพอน 26.ยากลีเซอรีนพญายอ 27.ยาบอระเพ็ด 28.ยาอายุวัฒนะ 29.หญ้าหนวดแมว 30.รางจืด 31.หญ้าดอกขาว 5.สำหรับผู้รับบริการที่รับบริการนวดจากผู้ช่วยแพทย์แผนไทยแล้วอาการไม่ดีขึ้นกรุณาแจ้งผู้ช่วยแพทย์แผนไทยให้แจ้ง แพทย์แผนไทยช่วยแก้อาการเพื่อ ประโยชน์ของท่านเอง 6.การรักษาด้วยการนวด การใช้ยาสมุนไพร การประคบสมุนไพรและการอบสมุนไพร -มีอาการไม่เกิน 3เดือน รักษาหรือฟื้นฟูด้วยหัตถเวชกรรมไทยไม่เกิน 2 สัปดาห์ๆละไม่เกิน 3ครั้งอาการไม่ดีขึ้นยุติการรักษาและส่งต่อเพื่อ ปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน -มีอาการเกิน 3เดือน รักษาหรือฟื้นฟูด้วยหัตถเวชกรรมไทยไม่เกิน 4 สัปดาห์ๆละไม่เกิน 3ครั้งอาการไม่ดีขึ้นยุติการรักษาและส่งต่อเพื่อปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน
5.ขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ 5.1 การขอรับบริการหัตถเวชกรรมไทย (นวดรักษา) และการประคบร้อนสมุนไพร
คำอธิบายแผนผัง 1.คัดกรอง/ลงเวชระเบียน/ตรวจเบื้องต้น 1.1 ชั่งน้ำ หนัก วัดส่วนสูง วัดไข้และวัดความดันโลหิต 1.2 ซักประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยและบันทึกลงเวชระเบียนอย่างละเอียด 1)คุณมีโรคประจำตัวไหม? / มีประวัติการแพ้ยา / กลิ่น / อาหาร / สมุนไพร 2)คุณมีอาการปวดมากบริเวณไหน?/ปวดมากี่วัน?/ ไปทำ อะไรมา? 3)คุณเคยมีประวัติการผ่า ตัดหรืออุบัติเหตุร้ายแรงไหม? 4)คนในครอบครัวมีโรคประจำตัวไหม?/การพักผ่อน/การรับประทานอาหาร/การขับถ่าย/การดื่มสุรา/การสูบบุหรี่ |